วันอาทิตย์ที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

มิเตอร์สำหรับตู้ล็อกเกอร์ Locker Meter



มิเตอร์สำหรับตู้ล็อกเกอร์ Locker Meter เป็นการพัฒนาการเรียนรู้ด้านวิศวกรรม สู่ผลงานนวัตกรรมที่ใช้งานได้จริง โครงงานวิจัยนี้เป็นการสร้างตู้ล็อกเกอร์ที คิดราคาค่าฝากของจากระยะเวลาที่ฝากของโดยเมื่อผู้ใช้ต้องการฝากของก็ทำการฝากของไว้ในตู้ล็อกเกอร์ทำการปิดประตูตู้และหยอดเหรียญ พร้อมทั้งกดรหัสผ่าน (ที่ผู้ใช้ต้องการ) เพื่อทำการล็อกประตูล็อกเกอร์ ระบบจะเริ่มคิดราคาค่าฝากของจากระยะเวลาที่ผ่านไป เมื่ือต้องการนำของที่ฝากออกก็ทำการหยอดเหรียญให้ครบตามจำนวนราคาค่าฝากของและกดรหัสผ่าน (รหัสผ่านที่ใส่ตอนล็อกประตูตู้) ล็อกของประตูก็จะเปิดออก ในกรณีที่ลืมรหัสผ่านก็สามารถติดต่อให้ผู้ดูแลระบบมาเปิดให้ได้ด้วย


ตู้ล็อกเกอร์ที่สร้างขื้นนี้มีประโยชน์สำหรับการรับฝากของตามสถานทีสาธารณะต่างๆ โดยที่ไีม่จำเป็นต้องมีผู้ดูแลตู้ล็อกเกอร์และไม่จำเป็นต้องพกกุญแจซึงอาจจะสูญหายได้





ขั้นตอนในการฝากของ

1. ฝากของในช่องฝากของ

2. ปิดฝาตู้ให้สนิท

3. หยอดเหรียญให้ครบจำนวน 10 บาท

4. กดรหัสผ่านจำนวน 4 หลัก

5. ยืนยันรหัสผ่านอีกครั้ง

6. จากนั้นตู้จะทำการล็อกโดยสังเกตจากไฟสีแดงติด





ขั้นตอนในการเอาของคืน

1. หยอดเหรียญให้ครบจำนวนที่โชว์ไว้หน้าตู้

2. กดรหัสผ่านจำนวน 4 หลัก

3. รอจนกว่าไฟสีเขียวจะติดจึงจะเอาของออกมาได้




หมายเหตุ ในกรณีที่ค่าบริการในการฝากของยังไม่ถึง 1 บาท ผู้ใช้บริการสามารถเอาของออกได้โดยการกดเครื่องหมาย (*) แล้วตามด้วยรหัสผ่าน ของผู้ใช้บริการเอง


แหล่งที่มา : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร

วันพฤหัสบดีที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2552

แขนกลอำนวยความสะดวกบนรถเข็นคนพิการ


ปัจจุบันเทคโนโลยีทางด้านหุ่นยนต์ ได้เข้ามามีบทบาทในการดำเนินชีวิต มนุษย์สร้างเครื่องจักรกลให้สามารถคิดและตัดสินใจในการทำงาน เพื่อช่วยในการทำงาน โดยจะเห็นตัวอย่างได้จากหุ่นยนต์ในโรงงานอุตสาหกรรม หุ่นยนต์ในการแพทย์และวิทยาศาสตร์ หุ่นยนต์ที่ใช้ในการสำรวจ เป็นต้น



แขนกลอำนวยความสะดวกบนรถเข็นคนพิการ เป็นการนำเสนอการเคลื่อนที่ด้วยแขนที่มีลักษณะการเลียนแบบแขนของมนุษย์ และได้คิดดัดแปลงมาใช้ประโยชน์อำนวยความสะดวกแก่บุคคลพิการที่ใช้รถเข็น โดยได้นำแขนกลมาติดตั้งอำนวยความสะดวกบนรถเข็นคนพิการเพื่อช่วยในการอำนวยความสะดวกใช้สอย ในการหยิบจับวัตถุที่อยู่ในรัศมีที่บริเวณรถเข็น



ขอบเขตของการทำงาน แขนกลอำนวยความสะดวกบนรถเข็นคนพิการ

1. สร้างแขนกล 3 ข้อต่อ (เป็นอย่างน้อย)
2. แขนกลสามารถจับและยกวัตถุที่มีน้ำหนักสูงสุด 1 กิโลกรัม
3. แขนกลมีระยะการเคลื่อนที่เป็นรัศมีครึ่งทรงกลม 1 เมตร แต่จำกัดมุมในแนวนอนที่ 270 องศาเพื่อไม่ให้แขนกลเคลื่อนที่มาชนผู้ที่นั่งรถเข็น
4. ใช้พลังงานจากแบตเตอรี่ 12 โวลต์ ไม่จำกัดปริมาณกระแสควบคุมการทำงานของแขนกลด้วยคันโยก (Joy Stick) 5. มีระบบรักษาความปลอดภัยแก่ผู้ใช้งานในกรณีที่วงจรเกิดขัดข้อง
6. มีระบบในการหยิบจับวัตถุแบบอัตโนมัติเมื่อวัตถุอยู่ในรัศมีของมือจับ



ผลงานชิ้นนี้คือผลงานต้นแบบที่คิดประดิษฐ์ขึ้น ภายใต้วัตถุประสงค์สำคัญที่ว่า การสร้างแขนกลติดตั้งบนรถเข็นเพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้ที่นั่งรถเข็นในการหยิบของภายในบ้านและศึกษาหลักการทำงานของแขนกล


แหล่งที่มา : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร

เครื่องอบแห้งเมล็ดข้าวเปลือกอย่างต่อเนื่องด้วยไมโครเวฟร่วมกับลมร้อน


เครื่องอบแห้งเมล็ดข้าวเปลือกอย่างต่อเนื่องด้วยไมโครเวฟร่วมกับลมร้อน
(Fluidized-bed Microwave Heating for Paddy Drying)


ประเทศไทยมักประสบปัญหาข้าวเปลือกมีมูลค่าตกต่ำอันเนื่องมาจากปัญหาหลายประการ อาทิเช่น ปัญหาแมลงศัตรูพืชจำพวกมดและมอดต่างๆ ปัญหาสารเคมีตกค้าง และปัญหาสำคัญคือข้าวเปลือกมีความชืนสูงทำให้คุณภาพของข้าวเปลือกต่ำ ส่งผลให้ราคาข้าวเปลือกจากท้องนามีราคาถูก และวิธีการลดความชืนทั่วไปที่ชาวนาใช้เป็นวิธีธรรมชาติด้วยการตากแดด ซึ่งไม่มีต้นทุนแต่ไม่สามารถควบคุมสภาพแวดล้อมได้ อีกวิธีหนึ่งคือใช้เครื่องอบแห้งเมล็ดข้าวเปลือก ที่อาศัยลมร้อนเพียงอย่างเดียวเป็นตัวพาความชืนออกไปซึ่งมีขนาดใหญ่และราคาสูง

ดังนัน หากพัฒนาระบบอบแห้งอย่างต่อเนื่องที่สามารถใช้ได้กับการลดความชืนในเมล็ดข้าวเปลือกที่ ตัวเครื่องมีขนาดเล็กและราคาต่ำ ก็น่าจะมีความเหมาะสมกับการนำไปใช้งานในการอบแห้งเมล็ดข้าวเปลือกในปริมาณไม่สูงมากนักซึ่งมีความเหมาะสมกับชุมชนต่างๆ ในประเทศเรา

การพัฒนาเครื่องอบแห้งเมล็ดข้าวเปลือก เป็นการพัฒนานวัตกรรมภายหลังการเก็บเกี่ยวข้าวให้มีประสิทธิภาพสูง ประหยัดไฟฟ้าและปลอดภัย นวัตกรรมดังกล่าวคือเครื่องลดความชื้นเมล็ดข้าวเปลือกแบบใช้ไมโครเวฟร่วมกับลมร้อน ซึ่งอาศัยข้อดีของคลื่นไมโครเวฟที่ให้ความร้อนได้รวดเร็ว ร่วมกับการให้ข้าวเปลือกฟุ้งกระจายในบริเวณที่มีลมร้อนจากแหล่งระบายความร้อนของระบบไมโครเวฟ ทำให้ความร้อนกระจายตัวสม่ำเสมอทั่วถึง

การทำงานของเครื่องดังกล่าวได้วิเคราะห์แล้วออกแบบสร้างและทดสอบในห้องปฏิบัติการจากการใช้หลอดแมกนิตรอนที่ใช้ในเตาอบไมโครเวฟตามบ้าน 4 หลอด กินไฟฟ้ารวม 5.2 กิโลวัตต์ และมีคลื่นรั่วต่ำกว่า 5 มิลลิวัตต์ต่อลูกบาศก์เซนติเมตร ตามมาตรฐานสากล จึงปลอดภัยต่อผู้ใช้ เมื่อทดสอบคุณสมบัติของข้าว ทังด้านสี กลิ่น และการแตกหัก พบว่า มีคุณภาพใกล้เคียงกับข้าวที่ใช้กระบวนการลมร้อนทั่วไป มีความสามารถในการลดความชืนจาก 24% ลดลงเหลือ 15% ด้วยปริมาณมากกว่า 3.1 กิโลกรัมต่อชั่วโมงและกินไฟฟ้ากิโลกรัมละ 1.7 บาท เครื่องอบแห้งต้นแบบดังกล่าวมีราคาประมาณ 150,000 บาท ดังแสดงในรูปที่ 1



รูปที่1. เครื่องอบแห้งต้นแบบ : ลดความชืนจาก24% เหลือ 15%
ด้วยปริมาณมากกว่า3.1 กก./ชม. กินไฟกิโลกรัมละ 1.7 บาท

และจากผลการทดลองเครื่องอบแห้งต้นแบบพบว่า ความสามารถในการอบแห้งยังได้ปริมาณต่ำ ดังนั้น จึงได้พัฒนาเครื่องอบแห้งเป็นระบบนำร่องอุตสาหกรรมที่ใช้หลอดแมกนิตรอนจำนวน 20 หลอด กินไฟฟ้ ารวม 19 กิโลวัตต์ และมีคลื่นรั่วต่ำกว่า 5 มิลลิวัตต์ต่อลูกบาศก์เซนติเมตร มีความสามารถในการลดความชืนจาก 22% ลดลงเหลือ 15% ด้วยปริมาณมากกว่า 25 กิโลกรัมต่อชั่ว โมงและกินไฟฟ้ากิโลกรัมละ 1.2 บาท เครื่องอบแห้งนำร่องอุตสาหกรรมมีราคาประมาณ 650,000 บาท

แหล่งที่มา : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร